จัดพิมพ์โดยคณะกรรมการ แห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.๒๕๒๙
จัดพิมพ์โดย มูลนิธิซีเมนต์ไทย พ.ศ.๒๕๔๐
เนื่องในการซ่อมหุ่นชุดรามเกียรติ์ ของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร
งานเขียนหนังสือ นับเป็นงานอดิเรกชิ้นแรกที่อาจารย์จักรพันธุ์จับทำอย่างจริงจัง เมื่อ สุวรรณี สุคนธา ผู้เป็นอาจารย์ และนักศึกษาศิลปากรรุ่นพี่ ทำนิตยสาร ลลนา ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖ และปรารภว่าอาจารย์น่าจะเขียนหนังสือได้ อาจารย์เห็นสนุกที่จะได้ทดลองฝีมือด้านเขียนหนังสือ จึงเริ่มเขียนบทความโดยใช้นามปากกาว่า ศศิวิมล ควบคู่กับการวาดภาพประกอบเรื่องในนิตยสารลลนา เริ่มด้วยบทความทั่วไปเกี่ยวกับความงาม บทวิจารณ์ศิลปะ บทสัมภาษณ์บุคคล จนเมื่อกลับจากเดินทางท่องเที่ยวชมงานศิลปะที่ยุโรป สารคดีเรื่อง ศศิวิมลท่องเที่ยว จึงเป็นงานเขียนที่มีผู้นิยมอย่างยิ่งนับแต่ปี ๒๕๑๗ ถึง ๒๕๑๘ สารคดีชุดนี้ได้จัดพิมพ์เป็นพ็อกเก็ตบุ๊คโดยต้องพิมพ์ซ้ำถึง ๓ ครั้ง และได้รับรางวัลประเภทหนังสือสารคดี จากการประกวดหนังสือขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.๒๕๑๙ ปี ๒๕๒๐ ศศิวิมลสับแหลก รวมผลงานบทความระยะแรก ได้พิมพ์ออกจำหน่าย และต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๕ ศศิวิมลตอบปัญหา รวมผลงานตอบปัญหาต่างๆ ของผู้อ่าน ซึ่งมีอรรถรสทางวรรณกรรม และพุทธปรัชญา เป็นผลงานชิ้นล่าสุด ก่อนอาจารย์จะพักงานเขียนหนังสือไว้ในปี พ.ศ.๒๕๒๑ และกลับมาเขียนต่อจนถึงปัจจุบัน